วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เอ็นไซม์ วิตามิน และคลอโรฟิลล์

   

     ต้นหญ้าเขียวๆ ในถาดที่เราเห็น เรียกว่า ต้นกล้าข้าวสาลี เอามาคั้นสด ดื่มเฉพาะน้ำเรียกว่า น้ำคั้นสดจากต้นอ่อนข้าวสาลี (Squeeze Wheatgrass Pure Liquid) ซึ่งก็คือ น้ำคั้นสดจากต้นอ่อนข้าวสาลีที่มีคลอโรฟิลส์นั่นเอง

 
               น้ำคั้นต้นข้าวสาลีอ่อนอุดมด้วยเอ็นไซม์ วิตามิน และคลอโรฟิลล์ มีคุณค่าทางอาหารสูง ไม่มีอันตราย เพราะเป็นของธรรมชาติ   ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ทันที   ต้นข้าวสาลีอ่อน 30 มิลลิลิตร มีคุณค่าเทียบเท่าผักสดทั่วไปน้ำหนัก 1 กิโลกรัม   น้ำคั้นต้นข้าวสาลีอ่อนมีคลอโรฟิลล์มากถึง 70% ซึ่งคลอโรฟิลล์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ มีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายฮีโมโกลบิน จึงมีออกซิเจนมาก ช่วยให้สมองและเนื้อเยื่อของร่างกายมีออกซิเจนเพียงพอ ทำให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  มี superoxide dismutase (SOD) ซึ่งเป็นสารต้านมะเร็งสูง ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ทันที   ทำให้ช่วยป้องกันและต่อต้านโรคมะเร็ง  ลดโคเลสเตอรอล ช่วยในเรื่องระบบการไหลเวียนของโลหิต  ระบบการย่อยอาหาร  ลดความดัน  รวมทั้งช่วยในการขับสารพิษออกจากร่างกาย ได้ด้วย

               น้ำคั้นต้นข้าวสาลีอ่อนมีแร่ธาตุที่มีประโยชน์ไม่ต่ำกว่า 90 ชนิด ตั้งแต่ แคลเซียม แมกนีเซียม โปแตสเซียม เหล็กและโซเดียม  มีกรดอะมิโนไม่ต่ำกว่า 20 ชนิด และมีเอนไซม์ไม่ต่ำกว่า 30 ชนิด  ดังนี้
วิตามิน        :  วิตามินเอ  วิตามินบี  วิตามินซี  วิตามินอี และวิตามินเค
แมกนีเซียม   :  ช่วยกำจัดไขมันส่วนเกิน
กรดอะมิโน   :  เป็นองค์ประกอบหลักของโปรตีน  ช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและสร้างเซลล์ใหม่ ในน้ำคั้นต้นข้าวสาลีอ่อนพบกรดอะมิโนมากมายดังนี้ Alanine, Arginine, Aspartic acid, Glutamic acid, Glycine, Histidine, Isoleucine, Leucine, Lysine, Phenylalanine, Proline, Serine, Threonine, Tyrosine และ Valine
เอนไซม์      :  เป็นองค์ประกอบหลักของขบวนการทำงานต่างๆของร่างกาย  ในน้ำคั้นต้นข้าวสาลีอ่อนพบเอนไซม์มากมายดังนี้ Superoxide dismutase,  Amylase,  Cytrochrome Oxidase, Lipase, Protease  และ Transhydrogenase 

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

รวม Youtube ทางรายการทีวี

มีรายการทีวีหลายรายการที่ให้ความสนใจในคุณประโยชน์ของ "ต้นอ่อนข้าวสาลี"
รายการ แจ๋ว ช่อง3 http://www.youtube.com/watch?v=MoV5-afRw2Y


รายการ ใครไม่ป่วยยกมือขึ้น ช่องThe Nation http://www.youtube.com/watch?v=3tSY2cscWws



รายการ สโมสรสุขภาพ ช่อง9 http://www.youtube.com/watch?v=EvLk2GHFmVk


ประวัติและผลงานวิจัย

ประวัติและผลงานวิจัย




วีทกราส หรือ ต้นข้าวสาลีอ่อนเป็นพืชที่มีประวัติมาอันยาวนาน นับแต่ยุคอียิปต์โบราณมานานกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ได้รับการบันทึกในตำรายาของ กรีก โรมัน และ จีนมาแต่โบราณกาล แต่การศึกษาเกี่ยวกับต้นข้าวสาลีอ่อนอย่างจริงจังได้เริ่มต้นที่ประเทศสหรัฐ อเมริกา คุณประโยชน์อันเร้นลับของต้นข้าวสาลีอ่อนได้ถูกค้นพบโดย ดร. ชารล์ส เอฟ ชเนเบล (Dr. Charles F. Schnabel) นักเคมีเกษตร ชาวอเมริกัน เมื่อประมาณ 80 กว่าปีที่แล้วมา หรือในปี คศ. 1930 ซึ่งได้ทำการทดสอบครั้งแรกโดยตัดต้นข้าวสาลีอ่อนมารักษาแม่ไก่ที่สุขภาพไม่ ดีปางตายจนหายและยังสามารถผลิตไข่ได้ในอัตราที่สูงกว่าแม่ไก่สุขภาพดีทั่ว ไป  จากการค้นพบดังกล่าวเขาได้นำมาประยุกต์เป็นอาหารเสริมสำหรับครอบครัวและ เพื่อนบ้าน โดยการนำต้นข้าวสาลีอ่อนมาอบแห้งและบดเป็นผง เพื่อสะดวกต่อการบริโภค
ในปี 1931 ดร. ชเนเบลได้ทำการทดลองเพิ่มเติมและปรากฏผลดังเดิม แม่ไก่ที่กินต้นข้าวสาลีอ่อนสามารถออกไข่ได้มากกว่าปรกติถึง 2 เท่า

ดร. ชเนเบลจึงได้เริ่มเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว จนกระทั่งมีผู้ประกอบการรายใหญ่ คือ เควกเกอร์ โอ๊ต (Quaker Oats) และ อเมริกัน แดร์รี่ (American Dairies) ได้สนับสนุนการวิจัยหลายล้านดอลล่าร์ เพื่อการศึกษาและพัฒนาสินค้าจากต้นข้าวสาลีอ่อนอย่างจริงจัง ดังนั้นในปี คศ.1940 หรือ 10 ปีต่อมาจึงมีสินค้าที่ผลิตจากต้นข้าวสาลีอ่อนเป็นอาหารเสริมสำหรับคนและ สัตว์วางจำหน่ายในร้านขายยาอย่างแพร่หลายทั่วสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

ดร. ชเนเบลเป็นผู้ที่ค้นพบและกล่าวว่า “ต้นข้าวสาลีอ่อนหนัก 15 ปอนด์  มีคุณค่าทางโภชนาการเทียบเท่าพืชทั่วไปที่หนักมากกว่า 350 ปอนด์” หรือ เทียบเท่า 1:23 เท่านั่นเอง
ในปี คศ. 1940 ชารล์ส เคตเตอร์ริ่ง (Charles Kettering) ประธานบอร์ดบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ ได้บริจาคเงินให้วงการแพทย์เพื่อการศึกษา ค้นคว้าและวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับคลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นสารอาหารหลักในต้นข้าวสาลีอ่อน ผลการวิจัยที่ปรากฏในเอกสารทางการแพทย์มากกว่า 40 ฉบับได้สรุปว่าคลอโรฟิลล์เป็นสารที่มีคุณประโยชน์มหาศาลและสามารถรักษาโรค ได้มากมาย คลอโรฟิลล์มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคล้ายคลึงกับโครงสร้างของฮีโมโกลบินที่ เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง  สิ่งที่แตกต่างกัน เพียงอย่างเดียวก็คืออะตอมของธาตุที่ประกอบเป็นสารฮีโมโกลบิน นั้นคือธาตุเหล็ก ส่วนในคลอโรฟิลล์นั้นเป็นธาตุแมกนีเซียม ดังนั้นคลอโรฟิลล์ ถูกดูดซึมเข้าไปในเซลล์เม็ดเลือดได้ทันที ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ฟอกเลือดให้บริสุทธิ์และฟื้นฟูเซลล์ให้กลับสู่สภาพปกติสมบูรณ์ได้อย่างรวด เร็ว

ดร.เบนจามิน เกอร์สกิ้น  แห่งมหาวิทยาลัยเทมเปิ้ล รายงานในวารสารอเมริกัน เจอร์นัล ออฟ เซอเจอรี่ ว่า คลอโรฟิลล์จากต้นข้าวสาลีอ่อนเป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้ดี มีคุณสมบัติทางฆ่าเชื้อโรคและมีคุณประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายในการรักษาอาการต่างๆ เช่น ระงับกลิ่นตัว ต่อต้านอาการติดเชื้อต่างๆ ที่เกิดจากเชื้อสเตรปโตคอคคัส รักษาแผลรวมทั้งไปสมานแผลให้หายเร็ว และ อ้างถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางหู คอ จมูก 2 คน คือ นพ.เรดพาธ และนพ.เดวีส ได้ใช้คลอโรฟิลล์รักษาโรคหู คอ จมูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีแผลในเยื่ออ่อน ทั้งแผลตื้นและลึกในผู้ป่วยกว่า 1,200 ราย ซึ่งผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจทั้งหมด
ในปี คศ. 1960 ดร.แอน วิกมอร์  เจ้าของโรงเรียนในมลรัฐบอสตัน  สหรัฐอเมริกา ซึ่งเดิมมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้องเช่นเดียวกับชาวอเมริกันทั่วไปที่ มักจะรับประทานอาหารที่ขาดสมดุล ประกอบด้วยแป้ง ไขมันเกลือ และเนื้อสัตว์เป็นหลัก  เมื่ออายุได้ 50 ปีได้ปวยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ขั้นสุดท้าย แพทย์ยืนยันว่าจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน  แต่ดร.แอนไม่ย่อท้อ ได้คิดค้นทุกวิถีทางเพื่อการอยู่รอด และได้ค้นพบว่าเครื่องดื่มจากต้นข้าวสาลีอ่อนสามารถทำให้อาการอ่อนเพลีย ตกใจง่าย  นอนไม่หลับ รวมถึงอาการมะเร็งลำไส้ใหญ่มีอาการดีขึ้น จนกระทั่งหายไปในระยะเวลา 1 ปี อย่างมหัศจรรย์
ชาวจีนเชื่อว่า สีเขียวของต้นข้าวสาลีอ่อน ซึ่งหมายถึง คลอโรฟิลล์ สามารถฟอกเลือดและเพิ่มพลังชีวิต ต้นข้าวสาลีอ่อนที่ได้รับแสงอาทิตย์เต็มที่จะมีคลอโรฟิลสูงถึง 70%ซึ่งช่วยสร้างเลือด อีกทั้งช่วยขับสารพิษในร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ กำจัดสารอ๊อกซิแดนซ์ในเลือด ช่วยกระตุ้นขบวนการเผาผลาญอาหาร และระบบเอ็นไซม์ในร่างกาย ช่วยเผาผลาญไขมัน และระบบการย่อยอาหาร ซึ่งทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานเป็นปกติ

นอกจากนี้ต้นข้าวสาลีอ่อนที่ปลูกในพื้น ดินออร์แกนิคในไร่ธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูก จะสามารถดูดแร่ธาตุที่มีประโยชน์จากดินไว้ถึง 92 ชนิด จากจำนวนแร่ธาตุในดินทั้งหมด102 ชนิด มีทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม โซเดียม และโปแตสเซียม นอกจากนั้นในต้นข้าวสาลียังอุดมด้วยโปรตีนในปริมาณสูงเพื่อตับอ่อนจะได้นำไป ใช้ในการเปลี่ยนแป้งและน้ำตาลให้กลายเป็นพลังงาน รวมทั้งอุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และกรดอะมิโน  งานวิจัยมากมายระบุว่าในกล้าข้าวสาลีมีเบต้าแคโรทีน สารต้านมะเร็งมากมาย เช่น กรดแอบซิลิค วิตามินบี และวิตามินซีในปริมาณสูง โดยเฉพาะต้นข้าวสาลีอ่อนที่ปลูกในฤดูหนาวถึง 4 เดือน ซึ่งจะสะสมธาตุอาหารเพื่อการอยู่รอดรวมถึงคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นพลังบริสุทธิ์ จากธรรมชาติ จะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด ปลอดภัยจากเชื้อราจากการปลูกในระบบโรงเรือน ซึ่งไม่ได้แสงอาทิตย์เต็มที่
ต้นข้าวสาลีอ่อนเป็นพืชที่มีกากใยอาหาร สูง มีความสามารถในการอุ้มน้ำ  ซึ่งจะเพิ่มปริมาณในกระเพาะ  ทำให้อิ่มเร็ว  ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนตัวของอุจจาระ  ทำให้ขับถ่ายง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันจะช่วยในการขับถ่ายของเสียรวมทั้งสารพิษต่าง ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้  จึงให้ผลเหมือนยาระบายธรรมชาติช่วยป้องกันโรคท้องผูกและริดสีดวงทวาร

แร่ธาตุที่มีประโยชน์

ต้นอ่อนข้าวสาลีมีแร่ธาตุที่มีประโยชน์ไม่ต่ำกว่า 90 ชนิด ตั้งแต่ แคลเซียม แมกนีเซียม
โปแตสเซียม เหล็กและโซเดียม  มีกรดอะมิโนไม่ต่ำกว่า 20 ชนิด และมีเอนไซม์ไม่ต่ำกว่า
30 ชนิด  ดังนี้

 

วิตามิน         :  วิตามินเอ  วิตามินบี  วิตามินซี  วิตามินอี และวิตามินเค
แมกนีเซียม   :  ช่วยกำจัดไขมันส่วนเกิน

กรดอะมิโน
  :  เป็นองค์ประกอบหลักของโปรตีน  ช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและสร้างเซลล์ใหม่ ในน้ำคั้นต้นข้าวสาลีอ่อนพบกรดอะมิโนมากมายดังนี้ Alanine, Arginine, Aspartic acid, Glutamic acid, Glycine, Histidine, Isoleucine, Leucine, Lysine, Phenylalanine, Proline, Serine, Threonine, Tyrosine และ Valine

เอนไซม์ 
     :  เป็นองค์ประกอบหลักของขบวนการทำงานต่างๆของร่างกาย  ในน้ำคั้นต้นข้าวสาลีอ่อนพบเอนไซม์มากมายดังนี้ Superoxide dismutase,  Amylase,  Cytrochrome Oxidase, Lipase, Protease  และ Transhydrogenase 




บทความโดย นางสุธีรา มูลศรี นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

กนกพร อะทะวงษา
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

 
           
 
          ในช่วงหลายปีมานี้หลายท่านคงคุ้นหูกับน้ำวีทกราส (Wheat grass juice) เครื่องดื่มสีเขียวเข้ม มีขายทั้งแบบคั้นสด ผงสำเร็จรูปชงน้ำดื่ม และแบบสารสกัดบรรจุแคปซูล หรืออัดเม็ดให้เลือกรับประทาน ซึ่งเจ้าน้ำวีทกราสที่กล่าวถึงกันนี้ก็คือ น้ำคั้นจากต้นอ่อนข้าวสาลีนั่นเอง จากการวิเคราะห์ปริมาณสารอาหารในต้นอ่อนข้าวสาลีพบว่า ประกอบด้วยคลอโรฟิลล์ถึงร้อยละ 70 นอกจากนั้นยังพบวิตามินเอ ซีและอี แร่ธาตุต่างๆ เช่น เหล็ก แคลเซียม แมกนีเซียม และกรดอะมิโนกว่า 17 ชนิด1
          

เนื่องจากน้ำคั้นจากต้นอ่อนข้าวสาลี อุดมไปด้วยคลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นสารมีสูตรโครงสร้างใกล้เคียงกับฮีม (heme) สารที่ร่างกายนำไปใช้ในการสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง จนได้ชื่อว่าเป็น “เลือดสีเขียว (Green Blood)”1 มีการศึกษาวิจัยฤทธิ์การเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดแดงของต้นอ่อนข้าวสาลีในผู้ป่วย ที่มีภาวะโลหิตจาง พบว่าการรับประทานน้ำคั้นจากต้นอ่อนข้าวสาลี วันละ 30 - 100 มล. หรือรับประทานสารสกัดจากต้นอ่อนข้าวสาลี วันละ 1,000 มก. ติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี ช่วยเพิ่มปริมาณฮีโมโกลบินในเลือด ลดปริมาณการให้เม็ดเลือดแดงเข้มข้น (Pack red cells) และลดจำนวนครั้งในการถ่ายเลือด (blood transfusion) ได้อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในเด็กที่มีภาวะโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย2 ในผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดเบต้า (beta-thalassemia)3 และในผู้ป่วย myelodysplastic syndrome (ผู้ป่วยมีความผิดปกติของไขกระดูก ทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ และอาจก่อให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว)4

          นอกจากนี้น้ำคั้นจากต้นอ่อนข้าวสาลียังป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการได้รับเคมีบำบัดได้ดี โดยพบว่าในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับประทานน้ำคั้นจากต้นอ่อนข้าวสาลี วันละ 60 มล. ตลอดระยะเวลาการได้รับเคมีบำบัด ทั้ง 3 รอบ ช่วยป้องการเกิดภาวะโลหิตจาง (anemia) ได้ดี มีผลเพิ่มปริมาณฮีโมโกลบินในเลือดอย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่มีผลต่อการตอบสนองการได้รับการรักษาจากเคมีบำบัดของผู้ป่วย5 และ การศึกษาในผู้ป่วยในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ ที่ดื่มน้ำคั้นจากต้นอ่อนข้าวสาลีวันละ 30 มล. ติดต่อกัน 6 เดือน พบว่าช่วยเพิ่มปริมาณฮีโมโกลบิน เกล็ดเลือด และเพิ่มภูมิต้านทานได้ดี ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น6

 
          การศึกษาฤทธิ์อื่นที่น่าสนใจ เช่น ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในอาสาสมัครที่ได้รับสารก่ออนุมูลอิสระ BPA (biphenol-A) ผ่านทางสิ่งแวดล้อม เมื่อให้ดื่มน้ำคั้นจากต้นอ่อนข้าวสาลี วันละ 100 มล. ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ พบว่าปริมาณสาร BPA ในปัสสาวะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยแนวโน้มการลดลงของ BPA สัมพันธ์กับระยะเวลาที่ดื่มคั้นจากต้นอ่อนข้าวสาลี7 และเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างต้นอ่อนข้าวสาลีกับสาหร่ายสไปรูริน่า ซึ่งเป็นสาหร่ายที่อุดมไปด้วยคลอโรฟิลล์จากธรรมชาติเช่นเดียวกัน พบว่าการรับประทานแคปซูลต้นอ่อนข้าวสาลี ขนาด 500 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 30 วัน เพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณวิตามินซี การทำงานของเอนไซม์ superoxide dismutase และลดปริมาณ malondialdehyde ในเลือดของอาสาสมัครได้ดีกว่าการรับประทานสาหร่ายสไปรูริน่า เมื่อรับประทานในขนาดที่เท่ากัน8

 
          นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำคั้นจากต้นอ่อนข้าวสาลีช่วยบรรเทาอาการของโรคลำไส้ อักเสบได้ดี เมื่อให้ผู้ป่วยรับประทานวันละ 100 มล. ติดต่อกัน 1 เดือน ช่วยบรรเทาอาการโดยรวมของโรคให้ดีขึ้น ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้และความถี่ของการถ่ายเป็นเลือดอย่างมีนัยสำคัญ9
          จะเห็นได้ว่าน้ำคั้นจากต้นอ่อนข้าวสาลีมีประโยชน์หลากหลาย ทั้งในแง่ของการเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดงในผุ้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจาง ป้องกันการเกิดอันตรายจากอนุมูลอิสระ และรักษาอาการลำไส้อักเสบ โดยไม่พบความเป็นพิษหรืออาการข้างเคียงใดๆ ในขนาดรับประทานวันละ 30-100 มล. หรือแคปซูลขนาด 1,000 มก. ในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ - 1 ปี แต่อย่างไรก็ตามควรระมัดระวังการใช้ในเด็กอ่อน หรือสตรีมีครรภ์ เนื่องจากยังไม่มีรายงานด้านความปลอดภัย อีกทั้งน้ำคั้นต้นอ่อนข้าวสาลีจะมีกลิ่นเหม็นเขียวคล้ายหญ้า จึงอาจกระตุ้นให้เกิดการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ที่ไม่ชอบกลิ่นดังกล่าวได้


เอกสารอ้างอิง

  1. Padalia S, Drabu S, Raheja I, Gupta A, Dhamija M. Multitude potential of wheatgrass juice (Green Blood): An overview. Chron Young Sci 2010;1(2):23-8.
  2. Singh K, Pannu MS, Singh P, Singh J. Effect of wheat grass tablets on the frequency of blood transfusions in Thalassemia Major. Indian J Pediatr. 2010;77(1):90-1
  3. Marwaha RK, Bansal D, Kaur S, Trehan A. Wheat grass juice reduces transfusion requirement in patients with thalassemia major: A pilot study. Indian Pediatrics 2004; 41:716-20.
  4. Mukhopadhyay S, Basak J, Kar M, Mandal S, Mukhopadhyay A. The Role of Iron Chelation Activity of Wheat Grass Juice in Patients with Myelodysplastic Syndrome. J Clin Oncol 2009;27:15s, (suppl; abstr 7012)
  5. Bar-Sela G, Tsailic M, Fried G, Goldberg H. Wheat Grass Juice may improve Hematological Toxicity Related to Chemotherapy in Breast Cancer Patients: A Pilot Study. Nutr Cancer 2007;58(1):43-8.
  6. Dey S, Sarkar R, Ghosh P, et al. Effect of Wheat grass Juice in supportive care of terminally ill cancer patients- A tertiary cancer centre Experience from India. J of Clin Oncol 2006;18(1):8634
  7. Yi B, Kasai H, Lee HS, Kang Y, Park JY, Yang M. Inhibition by wheat sprout (Triticum aestivum) juice of bisphenol A-induced oxidative stress in young women. Mutat Res. 2011;18(724):64-8.
  8. Shyam R, Singh SN, Vats P, Singh VK, Bajaj R, Singh SB, Banerjee PK. Wheat grass supplementation decreases oxidative stress in healthy subjects: a comparative study with spirulina. J Altern Complement Med. 2007;13(8):789-91.
  9. Ben-Arye E, Goldin E, Wengrower D, Stamper A, Kohn R, Berry E, Wheat Grass Juice in the Treatment of Active Distal Ulcerative Colitis: A Randomized Double-blind Placebo-controlled Trial. Scand J Gastroenterol 2002;37(4):444-9.


ข้อจำกัดด้านลิขสิทธ์บทความ :
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์หรือสิ่ง พิมพ์อื่นๆ
โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือ เรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายัง
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=125 ด้วย

ประโยชน์ของต้นอ่อนข้าวสาลี


คุณประโยชน์ของต้นข้าวสาลีอ่อน (Wheatgrass)
ดร.แอนด์ วิกมอร์ (Dr.Ann Wigmore) เป็นนักธรรมชาติบำบัดในอเมริกาเป็นผู้มีชื่อเสียงที่สุด 

ในการริเริ่มนำต้นข้าวสาลีมาใช้ในการบำบัดโรค และเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันสุขภาพ The Hippocrates Health Institute ในปี พ.ศ.2500 หรือประมาณ 50 ปีมาแล้ว

สำหรับในเมืองไทยก็ได้รับความสนใจ ไม่แพ้กันโดยนำต้นข้าวสาลีอ่อนมาคั้นเป็นน้ำผักเพื่อสุขภาพ

ที่ให้คุณประโยชน์อย่างสูงต่อร่างกายของเรา นอกจากต้นข้าวสาลีอ่อนเป็นพืชที่มีคลอโรฟิลล์ถึง70% และน้ำคั้นจากต้นกล้าข้าวสาลีอ่อน สามารถนำมาดื่มเพื่อ Detox ร่างกายโดยไม่มีผลเสียใด ๆแล้ว

คุณสมบัติของต้นข้าวสาลีอ่อนยังมีมากมาย เช่น

ช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง 

ช่วยฟอกเลือดให้สะอาดจะช่วยให้ ระบบเลือดดีขึ้น
ช่วยบรรเทาอาการโรคหัวใจ
ช่วยลดความดันโลหิตสูง เส้นเลือดหัวใจตีบ
ช่วยลดคอเรสตอรอล
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ช่วยลดอาการภูมิแพ้
ช่วยลด สิว และช่วยให้ผิวพรรณสดใส
ช่วยให้ระบบขับถ่ายของร่างกายดีขึ้น
ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
ช่วยป้องกันและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน
ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะแบบธรรมดา จนถึงปวดแบบไมเกรน
ช่วยบรรเทาอาการโรคกระเพาะ หรือโรคเกี่ยวกับลำใส้
ช่วยทำให้ไม่มีกลิ่นตัว และกลิ่นปาก
ช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น
ช่วยให้แผลในปาก หรือเหงือกอักเสบหายเร็วขึ้น
ช่วยบรรเทาปวดเมื่อยตามตัวทุเลาลง
ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น
ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงชะลอความแก่
ช่วยขจัดสารพิษในเลือด ตับและ ไต
ช่วยล้างสารพิษออกจากร่างกาย
มีสารอาหารบำรุงเส้นผม ช่วยลดอาการผมร่วง
ช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น

ต้นอ่อนข้าวสาลี คืออะไร



ต้นอ่อนข้าวสาลี (Wheat grass) คือ ต้นข้าวสาลีนี้เป็นธัญพืชจำพวกข้าวสาลีซึ่งเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยคลอโรฟิลล์ วิตามิน เกลือแร่ แร่ธาตุ โปรตีนและกรดอะมิโน ที่ให้พลังงานกับร่างกายมีส่วนช่วยสร้างเม็ดเลือดและบำรุงร่างกายให้สดชื่น รักษาอาการผิดปกติต่างๆและโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดแก่ร่างกาย 

มีสารต้านการก่อเซลล์มะเร็ง นอกจากนั้นยังทำให้สุขภาพแข็งแรง เป็นแหล่งสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อคนทุกวัยเป็นสารอาหารจากธรรมชาติล้วนๆ 

 

ต้นข้าวสาลีที่เกิดจากการเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวสาลีโดยต้องมีการควบคุมปริมาณน้ำ อุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสม ทำการเก็บเกี่ยวที่อายุประมาณ 6-8 วัน ซึ่งช่วงนี้เองจะเป็นช่วงที่ต้นอ่อนข้าวสาลีมีคุณค่่าทางโภชนาการมากที่สุด
ต้นอ่อนข้าวสาลี มีสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายมากกว่า ๑๐๐ ชนิด โดยเฉพาะมีโปรตีนสูง  ๒๕ %  วิตามินบีรวม วิตามินซี  วิตามินเอ  วิตามินอี และวิตามินเค มีกรดอะมีโนอย่างน้อย ๒๐  ชนิด  เอ็นไซม์ที่มีประโยชน์กว่า  ๓๐  ชนิด สารที่สำคัญที่สุดในต้นอ่อนข้าวสาลีคือ คลอโรฟิลล์ ซึ่งมีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายคลึงกับโมเลกุลของอีโมโกลบิน ในเม็ดเลือดแดง ของมนุษย์ ต่างกันที่ตัวกลางของคลอโรฟิลล์คือแมกนีเซี่ยม แต่ในอีโมโกลบินคือเหล็ก จึงได้ชื่อว่า Green Blood หรือ เลือดสีเขียว