วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

คลอโรฟิลล์ คืออะไร



คลอโรฟิลล์ คืออะไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


ล้างสารพิษ หน้าใส ผิวผ่อง ลมหายใจหอมสดชื่น” คือภาพฝันคุณที่คุณๆได้รับเชิญชวน (อีกแล้ว)จากกองทัพอาหารเสริมคลอโรฟิลล์ Chlorophyll ที่ แวะเวียนมาเคาะประตูบ้านคุณ ก็ไม่ว่าอะไรหรอกครับเพราะใครๆก็อยากสวยอยากปลอดจากสารพิษเหมือนต้นไม้ที่มี สีเขียวคลอโรฟิลล์คอยปกป้องอยู่บ้าง เราเลยต้องมาเล่าความจริงทางเภสัชวิทยาให้คุณได้รู้จริงว่ามันจะได้ผลจริง ไหม

คลอโรฟิลล์คืออะไร

ถ้าคุณเอาใบไม้มาตำๆแล้วคั้นน้ำออกมาไปตรวจในห้องทดลอง คุณจะพบสารมีสีที่ชื่อว่า
คลอโรฟิลล์ เป็นชื่อของกลุ่มของสารที่มีสีในตัวที่พบได้ในพืชทั่วๆไป การที่มันมีสีในตัวเอง
จึงมีหน้าที่ดักจับพลังงานแสงที่สาดส่องมาเพื่อใช้ใน ขบวนการสังเคราะห์แสงซึ่งเกิดขึ้นในในชั้น 
Chloroplasts ของ ใบพืช สารนี้ไม่จำเป็นต้องมีสีเขียวแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากเราจะ
พบมันได้ในพืชระดับชั้นต่ำเช่นในสาหร่ายแต่จะมีสีแตกต่างกันไป ที่เรียกว่าพืชชันต่ำก็เพราะว่ามันเป็นพืชที่มีองคาพยพแค่ใบ ในขณะที่พืชชั้นสูงจะมีวิวัฒนาการโดยใบจะมีการกลายไปเป็นดอก
หรือ ผล เพื่อทำหน้าที่เฉพาะได้ดียิ่งขึ้น
ดังนั้นเราจึงสามารถแบ่งออกเจ้าสารมีสีนี้ออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่

1.    คลอโรฟิลล์ มีสีเขียวแกมน้ำเงิน พบในพืชชั้นสูงทุกชนิดที่สังเคราะห์แสงได้

2.    คลอโรฟิลล์ มีสีเขียวแกมเหลือง พบในพืชชั้นสูงทุกชนิดและสาหร่ายสีเขียว

3.    คลอโรฟิลล์ พบในสาหร่ายสีน้ำตาลและสาหร่ายสีทอง แต่ไม่พบในพืชชั้นสูง

4.    คลอโรฟิลล์ พบในสาหร่ายสีแดง แต่ไม่พบในพืชชั้นสูง

หน้าที่ของคลอโรฟิลล์คือต้านอนุมูลอิสระ

จาก การวิจัยเราพบว่าสารนี้มีฤทธิ์ต้านทานสารก่อกลายพันธุ์ที่ยังไม่ทราบกลไก อย่างแจ้งชัด
อาจเป็นผลมาจากตัวมันเองทำหน้าที่เป็นตัวกำจัดอนุมูลอิสระ การทำงานของสารนี้ในชั้น 
Chloroplasts นั้นโมเลกุลของคลอโรฟิลล์จะทำงานได้เมื่อมันอยู่ในสภาพไม่ละลายในน้ำเท่านั้น

ทำไมจึงนำเอาคลอโรฟิลล์มาใช้

ก็ มีบุคคลากรทางสาธารณสุขบางท่านก็อนุมานว่าคลอโรฟิลล์สามารถทำหน้าที่ในการ ต้านอนุมูลอิสระได้ดังกล่าว จึงมีแนวคิดในการนำสารนี้มาเป็นสารอาหารเพื่อวางจำหน่าย โดยในหลากหลายผลิตภัณท์เสริมอาหารที่นำมาวางขายกันอยู่ จะเป็นคลอโรฟิลล์ที่ผ่านการสังเคราะห์มาแล้ว
ให้มีโครงสร้างคล้ายๆกับคลอโรฟิลล์ในธรรมชาติและละลายในน้ำได้ดี วัตถุประสงค์จริงๆของสารนี้ในตอนต้นก็เพื่อนำมาเป็นสีเขียวในสีผสมอาหารและ เครื่องดื่มเท่านั้น ขอย้ำว่าคลอโรฟิลล์ที่ทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระได้ในชั้นของใบพืชนั้น เมื่อมันอยู่ในสภาพไม่ละลายในน้ำเท่านั้น

แหล่งของคลอโรฟิลล์ในธรรมชาติ

พบมากในผลไม้ ผักที่มีสีเขียว ถ้าคุณชอบกินผัก ผลไม้สดเป็นประจำอยู่แล้วคุณก็ได้รับคลอโรฟิลล์จากธรรมชาติที่ดีที่สุดอยู่แล้ว


อันตรายของคลอโรฟิลล์ที่มากเกินไป

อย.สหรัฐได้กำหนดความปลอดภัยในการนำสารนี้มาเป็นสีผสมอาหารในผู้ใหญ่ไม่ควรเกินวันละ300 มิลลิกรัมต่อวัน และในเด็กไม่ควรเกิน 90 มิลลิกรัม ต่อวัน ก่อนกินสารนี้คุณควรตรวจว่าคุณมีอาการแพ้หรือไม่ เพราะจะทำให้เกิดอาการผื่นแพ้ เวียนศีรษะ เหงื่อออกมากจนหมดสติไปได้ในที่สุด หากคุณกินมากเกินไป จะมีผลทำให้อึหรือฉี่ออกมาเป็นสีเขียวได้ ถ้าเป็นมากๆอาจทำให้ท้องเสียได้


แหล่งข้อมูล

·         Rudolph C. The therapeutic value of chlorophyll. Clin Med Surg 1930:37;119-21.

·         Chernomorsky SA, Segelman AB. Biological activities of chlorophyll derivatives. N J Med 1988:85;669-73.

·         Gruskin B. Chlorophyll-its therapeutic place in acute and suppurative disease. Am J Surg 1940:49;49-56.

·         Hayatsu H, Negishi T, Arimoto S, et al. Porphyrins as potential inhibitors against exposure to carcinogens and mutagens. Mutat Res 1993:290;79-85.

·         Drugs.com, “Chlorophyll” http://www.drugs.com/enc/chlorophyll.html

·         เอกราช เกตวัลห์ สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล, “คลอโรฟิลล์ หลายคำถามที่คุณอยากรู้”, Herb for Health ฉบับที่ มีนาคม 2552

·         วรานุรินทร์ ยิสารคุณ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ น้ำคลอโรฟิลล์” สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
cradit http://www.oknation.net/blog/DIVING/2009/03/28/entry-2
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คลอโรฟิลล์ที่ทางการแพทย์ยอมรับคือ :
  • คลอโรฟิลล์ที่ทางการแพทย์ยอมรับคือ คลอโรฟิลล์บริสุทธิ์ ต้อง มีสารคลอโรฟิลล์อย่างน้อย 95 % นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองจนในที่สุดพบว่า มันคือ คลอโรฟิลล์ชนิดที่ละลายในน้ำ (Water Soluble Chlorophyll) ซึ่งคลอโรฟิลล์โดยตัวของมันเอง.... ไม่ละลายในน้ำ
  • ด้วยกระบวนการเทคนิคพิเศษอย่างน้อย 15 ขั้นตอนนี้ สามารถทำให้คลอโรฟิลล์ละลาย ในน้ำได้ ทางการแพทย์ได้ทำการวิจัยคลอโรฟิลล์ชนิดที่ละลายในน้ำกันอย่างกว้างขวางและ มากมายเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ (Medicinal Use) โดยเฉพาะกลุ่มนักวิจัยส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัยเทมเปิล ประเทศสหรัฐอเมริกา นำทีมโดย นายแพทย์ลอเรนซ์ สมิท ซึ่งเป็นศาสตราจารย์นายแพทย์สาขาพยาธิวิทยา ได้รวบรวมข้อมูลสำคัญของคลอโรฟิลล์ชนิดละลายในน้ำ ดังนี้ :
1.เป็นสารบริสุทธิ์ควรเลือกใช้ทางคลินิก (Water soluble derivatives are purified and much preferable in clinical use )
2. ผลของการใช้นุ่มนวลและไม่มีอาการระคายเคือง (Bland and non-irritating)
3. จากการทดลองในมนุษย์และสัตว์ในวิธีการแพทย์ รวมทั้งการฉีดเข้าใต้ผิวหนังและฉีดเข้าเส้นเลือดดำ ไม่ปรากฎอาการของพิษใดๆ (Total absence of toxic effects)
คลอโรฟิลล์บริสุทธิ์ทางการแพทย์ได้วิจัยสรุปผลดังนี้
  • ดร. เรดพาธและคณะฯ รายงานผลที่น่าพอใจในการใช้คลอโรฟิลล์รักษาผู้ป่วยจากโรคทางเดินหายใจ 1,000 ราย
  • มหาวิทยาลัยโลโยล่า ประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มทันตแพทย์รักษาผู้ป่วยกว่า 1,700 ราย พบว่าคลอโรฟิลล์สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปากได้
  • ดร. เคปฮาร์ รายงานผลการใช้คลอโรฟิลล์รักษาผู้ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง พบว่าได้ผลดีในผู้ป่วยที่ไม่ขาดธาตุเหล็กและธาตุทองแดง
  • ทันตแพทย์โกลด์เบิร์ก ใช้คลอโรฟิลล์รักษาผู้ปวย 300 ราย ที่เหงือกเป็นหนองเลือดออกตามไรฟันและฟันโยก ปรากฎว่าได้ผลดีมาก
  • ในโรงพยาบาลทหาร ดร. โบเวอร์ส ใช้คลอโรฟิลล์ทาแผล ปรากฎว่ากลิ่นเหม็นเน่าของแผลลดลง และอาการอักเสบดีขึ้นจนกระทั่งหายไป
  • ดร. มอร์แดน ใช้ขี้ผึ้งคลอโรฟิลล์รักษาแผลไฟไหม้ได้ผลดี
  • ดร. ฟอลล็อค ได้เปรียบเทียบในการรักษาแผลกดทับ (Bedsore) ด้วยยาหลายชนิดพบว่าคลอโรฟิลล์ได้ผลดีที่สุด
  • ดร. เบอร์กี้ รายงานว่าคลอโรฟิลล์ช่วยรักษาโรคโลหิตจางได้หลายชนิด ทำให้หัวใจทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น ช่วยลดความดันสูง และกระตุ้นทางเดินอาหารให้ทำงานดีขึ้น
  • ดร. แครนซ์ วิจัยพบว่าคลอโรฟิลล์บรรเทา อาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบได้ดี และจากรายงานของ ดร. ซามูแอล ในคนไข้ที่เลือดออกในกระเพาะอาหาร 36 ราย ปรากฎว่าทุกรายมีอาการดีขึ้นและหายภายใน 12-22 วัน
  • ค.ศ. 1980 มีรายงานในผู้ป่วยด้วยโรคตับอักเสบเรื้อรังจำนวน 34 ราย โดยการฉีดคลอโรฟิลล์เข้าเส้นเลือดปรากฎว่าได้ผลดี 23 ราย
  • ดร. โยชิดาและคณะ ฯ พบว่าคลอโรฟิลล์บรรเทาอาการของโรคตับอ่อนอักเสบ และมีรายงานวิจัยอีกหลายคณะในประเทศญี่ปุ่น ในการใช้คลอโรฟิลล์รักษาโรคตับอ่อนอักเสบ
  • ดร. เบอร์กี้ พิมพ์หนังสือชื่อ “Chlorophyll as pharmaceutical” กล่าวถึง การใช้คลอโรฟิลล์ได้ผลดีในผู้ป่วย 112 ราย ที่ป่วยด้วยโรคความดันสูง และหลอดเลือดแข็งตัว
  • ดร. แอนเจโล ศึกษาในคนไข้ 50 ราย ที่ป่วยด้วยโรคความดันสูง พบว่าคลอโรฟิลล์ช่วยลดความดันได้ดี และอาการทั่วไปดีขึ้น
  • มีรายงานการวิจัยอีกมากมายที่ใช้คลอโรฟิลล์บริสุทธิ์ในการรักษาโรคลำไส้อักเสบและอื่นๆ
  • จาก การทำวิจัยขององค์การอาหารและยาสหรัฐ กับผู้ป่วยแผลเปิดจำนวน 3,600 ราย พบว่าคลอโรฟิลล์ช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างเซลล์ใหม่ให้เร็วขึ้น ทำให้แผลหายเร็วกว่าปกติ 25 %ขึ้นไป และรอยแผลเป็นลดลงกว่า 50 % หรือมากกว่า จากกรณีนี้จึงมีการวิจัยต่อเกี่ยวกับการรักษาอาการเจ็บป่วยภายในร่างกายอัน เป็นสาเหตุของการเกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ขึ้น พบว่าผู้ป่วยทั้ง 1227 ราย กลิ่นภายในหายหมดหลังจากใช้คลอโรฟิลล์ผ่านไป 2 สัปดาห์ จึงให้การยอมรับว่าเป็นยาดับกลิ่นภายใน สามารถซื้อขายได้ตามร้านขายยาทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 1990 ตามเอกสารทะเบียนยาที่ 21 CFR Part 357 Deodorant Drug Products for Internal Use for Over-the Counter Human Use : Final Monograph; Final Rule.
  • ตลอดจนการใช้คลอโรฟิลล์ รักษาสุนัขที่ป่วยโรคผิวหนัง และกลิ่นตัวแรง นับเป็นจำนวนกว่าหมื่นตัว
·  ในอดีตทางการแพทย์ได้ใช้คลอโรฟิลล์ชนิด ที่ละลายในน้ำ (Water Soluble Chlorophyll ) รักษาผู้ป่วย แต่การใช้ไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เพราะต้นทุนการผลิตยังมีราคาแพงมาก แต่ในปัจจุบันคลอโรฟิลล์บริสุทธิ์มีราคาถูกลง และใช้กันทั่วไปในกลุ่มแพทย์ธรรมชาติบำบัด
http://alfalfa.igetweb.com/index.php?mo=3&art=555817





 น้ำคลอโรฟิลล์
     หลายคนนิยมดื่มน้ำคลอโรฟิลล์ ตาม กระแสคนรักสุขภาพ บ้างก็เชื่อว่า ดีต่อสุขภาพมากมายมหาศาล ไม่ว่าจะช่วยล้างพิษ สร้างพลังงานให้กับร่างกาย ป้องกันและรักษาโรคบางโรค บ้างก็บอกว่าเป็นน้ำอายุวัฒนะ
  
     ยิ่งในปัจจุบัน พบว่ามีการโฆษณาขายน้ำคลอ โรฟิลล์กันเต็มไปหมดโดยเฉพาะทางอินเทอร์เน็ต ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงมาคุยกับ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ เพื่อไขข้อกระจ่างในเรื่องนี้ให้ผู้อ่านได้รับทราบกัน
  
      นพ.กฤษดา กล่าวว่า คลอโรฟิลล์ เปรียบเสมือนเป็นเลือดของพืช ประกอบด้วยแมกนีเซียม มีคุณสมบัติช่วยเติมกระดูก เกลือแร่ได้ ที่สำคัญจะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เหมือนกับพืชที่  จะใช้คลอโรฟิลล์ต้านอนุมูลอิสระจาก  แสงแดด ยกตัวอย่างต้นกล้วยที่ต้นยืนอยู่ท่ามกลางแสงแดดนาน ๆ แต่มันไม่เหี่ยวไม่ตายก็เพราะว่า มันมีคลอ โรฟิลล์ นอกจากจะทำหน้าที่สังเคราะห์แสงแล้ว มันจะเป็น เหมือนด่านที่กันแดดเอาไว้ ไม่ให้แดดมาเผาใบทำให้เกิดอนุมูลอิสระ
  
      ส่วนใหญ่คลอโรฟิลล์ที่นำมาทำเป็นน้ำคลอโรฟิลล์ให้เราดื่ม มักจะสกัดจากพืชที่มีคลอโรฟิลล์สูง เช่น สกัดจากต้นหญ้าอัลฟัลฟ่า ซึ่งมีอยู่ตามทุ่งราบอเมริกา ที่พบว่ามีคลอโรฟิลล์สูง จึงนิยมนำมาให้สัตว์กิน แต่เนื่องจากมีกากเยอะ คนกินไม่ได้ จึงได้นำมาสกัดเอาเฉพาะคลอโรฟิลล์
  
      สำหรับน้ำคลอโรฟิลล์ที่จำหน่ายในบ้านเรา มีทั้งที่สกัดจากหญ้าอัลฟัลฟ่า และพืชผักอื่น ๆ ส่วนใหญ่ที่เห็นเป็นสีเขียวจาง ๆ ไม่เข้มข้นมาก ก็เพราะมีการนำมาเจือจางกับน้ำ ดังนั้นจึงไม่เข้มข้นเหมือนกับที่เรากินจากพืชผักสด  ๆ
  
      ถามว่าควรจะดื่มน้ำคลอโรฟิลล์หรือไม่ นพ.กฤษ ดา ตอบว่า ก็ต้องบอกว่า เป็นทางเลือกหนึ่ง  ถ้ามีสตางค์กินได้ ไม่เสียหายอะไร แต่ถ้าเป็นผมจะกินจากผักสดดีกว่าเพราะได้กากใยจากผักด้วย
  
       ความจริงแล้วในชีวิตประจำวันของคนเรา สามารถเลือกกินคลอโรฟิลล์ได้จากพืชใบเขียวต่าง ๆ เพราะคลอโรฟิลล์ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ใบของพืชผัก สังเกตได้ง่าย ๆ ตรงไหนมีคลอโรฟิลล์เยอะ ก็คือตรงที่พืชใช้สังเคราะห์แสงนั่นเอง
  
      พืชผักใบเขียวหลายชนิดที่มีคลอโรฟิลล์ เช่น คะน้า ตะไคร้ ใบเตย สะระแหน่ ขึ้นฉ่าย ผักโขม ปวยเล้ง ใบแมงลัก สาหร่ายทะเล ถ้าไม่อยากเสียสตังค์กินสด ๆ ได้ หรืออาจจะนำมาปั่นแล้วกรองเอาแต่น้ำก็ได้ ก็จะทำให้ได้น้ำคลอโรฟิลล์ที่เข้มข้นมากขึ้น หรือจะต้มน้ำใบเตย น้ำตะไคร้ก็ได้ หรือบางคนอาจจะนำมาใส่ในอาหาร เช่น ต้มเปรอะจะใส่ใบย่านางหรือใบแมงลัก เป็นต้น อย่างไรก็ตามคงต้องบอกว่า คลอโรฟิลล์ ไม่ควรนำไปอุ่นหรือโดนความร้อนจัดจนเกินไป เพราะทำให้เสื่อมสลายไปได้
  
     โดยหลักแล้วควรจะกินหรือไม่ ? นพ.กฤษดา กล่าวว่า อย่างที่บอกถ้ามีสตางค์กินได้ก็ดี ดีกว่าน้ำเปล่า แต่ข้อควรระวังคือ ในคนที่มีเกลือแร่ในเลือดไม่ค่อยสมดุล อย่างคนที่เป็นโรคไต อาจจะขับเกลือแร่ไม่ได้ ดังนั้นต้องพึงระวังว่า อาจจะได้รับเกลือแร่เกินจากคลอโรฟิลล์ หรือในคนที่เป็นโรคหัวใจก็ต้องระวังเช่นกัน เพราะแมกนีเซียมถ้ามีเยอะเกินไปอาจจะมีผลต่อการบีบตัวของกล้ามเนื้อและการ เต้นของหัวใจได้
   
      นพ.กฤษดา บอกว่า ที่มีการโฆษณากันและไม่เป็นไปตามนั้น ก็คือ กรณีที่บอกว่าคลอโรฟิลล์ช่วยสร้างพลังงานให้กับร่างกายนั้น ความจริงคือเมื่อเรากินเข้าไปคลอโรฟิลล์จะไม่ได้ช่วยสังเคราะห์แสงเหมือนใน พืช ตรงนี้หลายคนมักจะเข้าใจผิดกัน และอีกเหตุผลหนึ่งที่คนหันมาดื่มน้ำคลอโรฟิลล์กันมาก แทนที่จะกินจากผักสด ก็คงเพราะกลัวเรื่องสารพิษ หรือยาฆ่าแมลงในผัก ก็เลยเลือกคลอโรฟิลล์ที่สกัดแล้ว
  
     ท้ายนี้คงขึ้นอยู่กับท่านผู้อ่านแล้วละว่า หลังจากที่ นพ.กฤษดา ให้ข้อมูลแล้วจะดื่มน้ำคลอโรฟิลล์ต่อหรือไม่ เพราะอย่างที่บอก คลอโรฟิลล์ก็มีประโยชน์ แต่สามารถหากินได้ง่ายจากพืชผักใบ เขียวต่าง ๆ ถ้าใครกระเป๋าหนักจะหามาดื่มก็ไม่ว่ากัน.
นวพรรษ บุญชาญ : สัมภาษณ์
 
จาก เดลินิวส์ ออนไลน์ 18 เมย.53
+++++++++++++++++++++++++
1. คลอโรฟิลล์ ช่วยทำให้สดชื่น หายเหนื่อยจากการอ่อนเพลีย
2. คลอโรฟิลล์ ช่วยลดความดันโลหิต ลดปัญหาเส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจโต
3. คลอโรฟิลล์ ช่วยปรับระดับน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
4. คลอโรฟิลล์ ช่วยทำให้อาการของคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ แพ้อากาศ ผื่นลมพิษ ทุเลาลง
5. คลอโรฟิลล์ ช่วยขับกรดจากข้อต่อต่างๆ ทำให้อาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัวทุเลาลง และดีขึ้นตามลำดับ
6. คลอโรฟิลล์ ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย สารตกค้างของยาปฏิชีวนะ สารเคมีตกค้างในอาหาร ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานดี สุขภาพแข็งแรง สดชื่นขึ้น

7. คลอโรฟิลล์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดแดงทำให้ระบบ เลือดไหลเวียนดีขึ้น
8. คลอโรฟิลล์ ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
9. คลอโรฟิลล์ ช่วยแก้ปัญหาท้องผูก การขับถ่ายจะดีขึ้น ริดสีดวงทวารทุเลาและหายได้
10. คลอโรฟิลล์ ช่วยดับกลิ่นตัว กลิ่นปาก กลิ่นเท้า กลิ่นภายใน
11. คลอโรฟิลล์ ช่วยบรรเทาอาการชา บวม และเส้นเลือดขอดให้ทุเลาและดีขึ้นได้
12. คลอโรฟิลล์ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
13. คลอโรฟิลล์ ใช้ทาแผลอักเสบ,แผลเปื่อย,แผลเรื้อรัง,แผลถลอก,แผลไฟไหม้, เหงือกอักเสบ,แผลในปากซึ่งจะเห็นผลได้ดีกว่าการใช้แอลกลอฮอลล์และยาแดง
14. คลอโรฟิลล์ ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะทั่วไป และปวดศีรษะไมแกรนได้
15. คลอโรฟิลล์ ช่วยเรื่องโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบให้ทุเลาและดีขึ้นได้
16. คลอโรฟิลล์ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องสิว,ฝ้า,ปวดประจำเดือน,ประจำเดือนมาไม่ปกติ
17. คลอโรฟิลล์ ช่วยให้ผู้ที่เป็นต้อกระจกมองเห็นดีขึ้น และต้อเนื้อทุเลาลงได้
18. คลอโรฟิลล์ ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ทำให้อวัยวะที่ทำหน้าที่กำจัดของเสีย ทำงานได้ดีขึ้น
ข้อมูลข้างต้น เรียบเรียงจากหนังสือและข้อเขียนของ ดร.ฮาวเวิร์ด ไปเปอร์ (Dr.Howard Peiper)